รักเฒ่ากัน

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการว่า จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2573
โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปทำให้ประเทศไทย ต้องรับมือกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยคนวัยทำงาน มีภาระต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้อายุในบ้านขาดคนดูแล
โครงการรักเฒ่ากันมีเป้าหมายให้ “ชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีส่วนร่วม และเชื่อมประสานหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างเป็นองค์รวม” เนื่องจากชุมชนเป็นหน่วยทางสังคม ที่มีความใกล้ชิดและผูกพันกัน เป็นหน่วยย่อยที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ แต่การที่ชุมชนจะรับบทบาทนี้ได้นั้น ต้องมีการสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแล ผู้สูงอายุให้กับชุมชน โดยมีความคาดหวังว่า จะนำไปสู่การดูแลอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ ประหยัด แบ่งเบาภาระของภาครัฐ สามารถตอบโจทย์ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ได้อย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการทำงาน

เครื่องมือสำคัญ

รักเฒ่ากัน

การสร้างเครือข่าย

ไทม์ไลน์

ผลลัพธ์

Community Explore System

เกิดระบบการเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและ เครื่องมือในการเก็บสำรวจที่มีประสิทธิภาพ

Community Skills & Attitude for Aged-Care

ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ สถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนและสามารถวางแผนการดูแลผู้สูงอายุและดำเนินการดูแลช่วยเหลือ ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น

Community Creative Method

เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง อย่างสร้างสรรค์โดยการประสานการทำงานด้วย แนวคิดบูรณาการข้ามศาสตร์

Community Care System

เกิดระบบกลไกการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบ ชุมชนเมืองและรูปแบบชุมชนชนบท ครอบคลุมทุกมิติ

พื้นที่ต้นแบบ

ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง
จ.นครสวรรค์

สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ
ผ่านการมีส่วนร่วม
จากภาคส่วนต่างๆ

บ้านเอื้ออาทรสาย 5
(หลังองค์พระ) จ.นครปฐม

ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง
ให้คนมาใช้งานร่วมกัน
และช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
ที่เปลี่ยวเหงาอยู่บ้านคนเดียว

ชุมชนวัดท่าพูด
จ.นครปฐม

ผู้สูงอายุเป็นครูภูมิปัญญา ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว สู่คนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นผู้นำ ในการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้สูงอายุ

ชุมชนบ้านกลึง
จ.นครราชสีมา

ทำกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่
เพื่อให้ผู้สูงอายุและเด็ก
ได้มีปฎิสัมพันธ์กัน
สร้างชีวิตชีวาให้กับหมู่บ้าน

พื้นที่ขยายผล

รูปแบบชุมชนเมือง

• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑล สาย ๕ (ปตท.) จ.นครปฐม
• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร นครชัยศรี ( ท่าตำหนัก ) จ.นครปฐม
• ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑลสาย ๔ จ.นครปฐม
• หมู่บ้านธารทอง ๑ หมู่ ๖ จ.นนทบุรี
• หมู่บ้านบัวทอง หมู่ ๙ จ.นนทบุรี
• หมู่บ้านลิขิต หมู่ ๖ จ.นนทบุรี

รูปแบบชุมชนชนบท

• ชุมชนเจริญทรัพย์ จ.นครนายก
• ชุมชนวัดทองย้อย จ.นครนายก
• ชุมชนบ้านหัวหมอน จ.นครนายก
• ชุมชนหมู่ ๖ เทศบาลหนองเสือ จ.ปทุมธานี
• บ้านหนองห่าง หมู่ ๑ จ.นครราชสีมา
• บ้านโนนพัฒนา หมู่ ๑๓  จ.นครราชสีมา

เสียงจากชุมชน