โครงการพัฒนา“พื้นที่สุขภาวะ”

พื้นที่สุขภาวะ คือพื้นที่ทางกายภาพที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรม ทางสุขภาพที่ดีในทุกมิติ ซึ่งควรตอบสนองความต้องการ และโจทย์ของชุมชน/เมืองที่หลากหลาย การพัฒนาพื้นที่จึงควร สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจ ระบุโจทย์ความท้าทาย สร้างสรรค์ทางเลือก ร่วมตัดสินใจ/ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไปจนถึงการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นยั่งยืนในระยะยาว

จากการทำงานร่วมกันระหว่าง แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาศรมศิลป์ ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555-2565)ผ่าน 5 โครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ทีมงานได้รวบรวมขั้นตอนการทำงาน เครื่องมือสำคัญที่ใช้ ผลลัพธ์ของโครงการ และสื่อต่าง ๆ ของโครงการ ซึ่งได้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินการ ในบริบทพื้นที่ที่หลากหลาย

พื้นที่สุขภาวะ : พื้นที่ที่ถูกวางแผนออกแบบ และดำเนินการโดยตั้งใจให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีทั้งทางกาย จิตใจสติปัญญา และสังคมทั้งพื้นที่ที่มนุษย์สร้าง และที่เป็นธรรมชาติ โดยพื้นที่ดังกล่าวมีเป้าหมาย 3 ด้าน คือส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางกายสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีของสังคมและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน

กิจกรรมทางกาย : การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งหมายรวมกิจกรรมทางกายจากการทำงานกิจกรรมทางกายจากการเดินทางและกิจกรรมทางกายจากนันทนาการและกีฬา

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ในการทำงานของสถาบันอาศรมศิลป์ ภายใต้แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. คือ การใช้กระบวนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชน เป็นจุดคานงัดในการพัฒนาสุขภาวะชุมชน นำไปสู่การนำเสนอในเชิงนโยบายเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ โดยมียุทธศาสตร์ในการทำงานที่สอดรับกับพันธกิจของง สสส. ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้

พันธกิจ ของ สสส.

เครื่องมือ

“จุดประกายกระตุ้น

  • การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมจากการปฏิบัติและลงมือทำจริง
  • สาน และเสริมพลัง บุคคล

    และองค์กรทุกภาคส่วน

    ให้มีขีดความสามารถ

  • กระบวนการเรียนรู้จากการทำงานแบบมีส่วนร่วมและพัฒนากลไก
    ความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  • และสร้างสรรค์ระบบสังคม

    ที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ”

  • การสื่อสารผลลัพธ์ และความรู้จากโครงการ เพื่อสร้างโอกาสความร่วมมือในวงกว้าง และนำไปสู่การผลักดันเชิงนโยบาย
  • แนวทางในการทำงาน

    เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์แนวทางในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะของสถาบันอาศรมศิลป์ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม / การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ / ความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการแสวงหาคุณค่าร่วมกันของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Co-Creation) ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการ

    กระบวนการมีส่วนร่วม : เพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมระบุความต้องการ ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผล ซึ่งจะนำสู่การสร้างความเป็นเจ้าของ และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

    การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ : เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ทำให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายได้เห็นศักยภาพและข้อจำกัดของตนเองและทีมผ่านการสรุปความรู้ร่วมกันหลังการปฏิบัติ เพิ่มขีดความสามารถของบุคคลและองค์กร และพัฒนาไปสู่การสานพลังให้เกิดกลไกความร่วมมือในระยะยาว

    ความคิดสร้างสรรค์ : เพื่อออกแบบพื้นที่กายภาพ และกระบวนการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความต้องการ และผลลัพธ์ที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย (Win-Win Solution) ท่ามกลางความต้องการที่หลากหลายของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

    Co-Creation : กระบวนการร่วมกำหนดคุณค่าของบริการ/พื้นที่ แสวงหาคำตอบในการพัฒนาทางเลือก ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือพื้นที่ร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

    การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) : กระบวนออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดโจทย์ที่ชัดเจน ออกแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และนำไปสู่การสร้างต้นแบบการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม

    กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

    การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความหวัง ความฝัน ข้อจำกัด และแสวงหาทางออกร่วมกัน โดยสถาบันอาศรมศิลป์ ในบทบาทผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ใช้กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม และการสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ผ่านการลงมือพัฒนาโครงการจุดประกาย เพื่อสร้างสุขภาวะองค์รวมให้กับชุมชนสามารถนำไปสู่การสร้างกลไกความร่วมมือในระยะยาว และนำบทเรียนจากการทำงานและผลการเปลี่ยนแปลงสื่อสารต่อสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง และสร้างการขับเคลื่อนทางนโยบาย

    5 โครงการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ

    โรงพยาบ้าน

    รักเฒ่ากัน