โรงพยาบ้าน

ทำไมโรงพยาบาลถึงต้องเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของชุมชน?ในสังคมไทยที่มีพื้นที่สาธารณะต่ำกว่ามาตรฐาน ยิ่งในพื้นที่เมืองที่มีการอยู่อาศัยอย่างแออัดหนาแน่น ความต้องการพื้นที่สาธารณะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้น แต่เราจะหาพื้นที่สาธารณะเพิ่มได้จากที่ไหน

เมื่อพูดถึงโรงพยาบาล เรามักจะนึกถึงแต่การเจ็บป่วย ความหดหู่ ความไม่สบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งที่พื้นที่ตั้งของโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ใกล้ชุมชน ใกล้ชุมชน มีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนา ให้เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน

โรงพยาบาลต้นแบบแห่งนี้จึงได้ทดลอง ชวนชุมชนโดยรอบ และบุคลากรมาร่วมคิด ร่วมออกแบบอย่างมีส่วนร่วมพลิกฟื้น โรงพยาบาลให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่คนในชุมชนอยากเข้ามาใช้ ทำกิจกรรมที่หลากหลาย และเอื้อต่อการฟื้นฟูจิตใจของคนป่วย “เปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็น”โรงพยาบ้าน”ของชุมชน”

SITE ANALYSIS
การวิเคราะห์ที่ตั้ง

เป้าหมาย

เพื่อวิเคราะห์ที่ตั้ง (site analysis) ที่ทำให้โรงพยาบาลและชุมชน เห็นความสำคัญ และเห็นโอกาสในการปรับปรุงโรงพยาบาล ที่เชื่อมโยงกับการเพิ่มพื้นที่สุขภาวะของชุมชน

สร้างการสื่อสาร และความสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน

จังหวัดนนทบุรี

พื้นที่สาธารณะ

มาตรฐาน WHO กำหนดไว้ที่
9 ตร.ม./คน

3
ตารางเมตรต่อคน

โรงพยาบาลบางบัวทอง 2

อยู่ในเขต

5
ชุมชน

มีประชาชนที่อยู่ในความดูแลจำนวน

5,148 คน

ในรัศมี 5 กิโลเมตร พื้นที่ชุมชนรอบ
โรงพยาบาลบางบัวทอง 2 มีพื้นที่
สาธารณะน้อยเท่าที่มีก็อยู่ในหมู่บ้าน
จัดสรร ที่ไม่เปิดให้ชุมชนเข้าไปใช้

โรงพยาบาลบางบัวทอง 2

หมู่บ้านจัดสรร

บ้านเรือนประชาชน 5 ชุมชน

กระบวนการมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์กระบวนการชุมชน

เพื่อวิเคราะห์ที่ตั้ง (site analysis) ที่ทำให้โรงพยาบาลและชุมชน เห็นความสำคัญ และเห็นโอกาสในการปรับปรุงโรงพยาบาล ที่เชื่อมโยงกับการเพิ่มพื้นที่สุขภาวะของชุมชน

สร้างการสื่อสาร และความสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน

วัตถุประสงค์กระบวนการบุคลากร

เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน รับฟังความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม ระหว่างผู้บริหารและบุคลากร ในการตั้งเป้าหมาย และเห็นภาพการพัฒนาโรงพยาบาลร่วมกัน

ชุมชน

  • ประชาชนที่อยู่โดยรอบ
  • กลุ่มกิจกรรม
  • ผู้มาใช้บริการ

1

สัมภาษณ์ผู้มาใช้บริการพื้นที่

2

สำรวจทำความรู้จักชุมชน

3

นำเสนอแบบทางออนไลน์กับชุมชน

บุคลากรของโรงพยาบาล

  • ผู้บริหาร
  •  เจ้าหน้าที่

4

Focus group กับผู้บริหารและบุคลากรทุกแผนก

5

เวทีนำเสนอแบบกับบุคลากรโรงพยาบาล

สรุปโจทย์และความต้องการ

ปรับปรุงภูมิทัศน์

1. เพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อความร่มรื่น
2. เพิ่มพื้นที่ปลูกสวนผักเพื่อสร้าง อาหารปลอดภัยของ รพ. และเป็นกิจกรรมของผู้ป่วยและคนในชุมชน
3. เพิ่มแสงไฟส่องสว่าง เพื่อความปลอดภัย
4. เพิ่ม Cover Way เพื่อเชื่อมไปยังอาคารอื่นๆ

กิจกรรมของชุมชน

1. พื้นที่สำหรับออกกำลังกาย เช่น วิ่ง แอโรบิค เครื่องออกกำลังกาย
2. พื้นที่สำหรับเด็ก เช่น สนามเด็กเล่น มุมอ่านหนังสือ
3. พื้นที่จัดกิจกรรมเทศกาลชุมชน
4. พื้นที่จัดตลาดนัด/ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ปรับปรุงอาคาร

1. เพิ่มพื้นที่คัดกรองและแผนกโรคติดเชื้อ
2. ปรับปรุงทางขึ้นอาคารให้เข้าออกได้อย่างสะดวก
3. เพิ่มพื้นที่พักคอยและห้องน้ำสำหรับคนไข้ให้เพียงพอ
4. เพิ่มพื้นที่เยียวยาจิตใจผู้ป่วยได้แก่ หอพระ พื้นที่ละหมาด

แผนการพัฒนาในอนาคต

1. เป็นศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพระดับจังหวัด
2. ขยายหอพักผู้ป่วย จาก 30 เตียง เป็น 200 เตียง
3. เพิ่มอาคารหอพักเจ้าหน้าที่

การออกแบบโรงพยาบ้าน

1

ปรับปรุงอาคารเดิม

ปรับปรุงอาคารเดิม (หลังปรับปรุง)

ปัญหาบันไดชัน (ก่อนปรับปรุง)

ปรับปรุงทางเข้ารพ. (หลังปรับปรุง)

มุมเพิ่มชานพักคอย (ก่อนปรับปรุง)

เพิ่มพื้นที่พักคอย (หลังปรับปรุง)

พื้นที่รองรับโรคอุบัติใหม่ (ก่อนปรับปรุง)

พื้นที่โรคอุบัติใหม่ (หลังปรับปรุง)

2

ปรับปรุงภูมิทัศน์

ปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อรองรับกิจกรรม (หลังปรับปรุง)

มุมสวนผักสมุนไพร (ก่อนปรับปรุง)

สวนพืชผักสมุนไพร (หลังปรับปรุง)

มุมออกกำลังกาย (ก่อนปรับปรุง)

พื้นที่ออกกำลังกาย (หลังปรับปรุง)

3

จัดทำผังแม่บท เพื่อวางแผนรองรับการพัฒนาโรงพยาบาลในอนาคต

ทัศนียภาพโรงพยาบาล

ผังแม่บทโรงพยาบาลบางบัวทอง2 จังหวัดนนทบุรี

1.สวนต้อนรับ
2.จุดจอดรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยฉุกเฉิน
3.อาคารผู้ป่วยนอก
4.จุดจอดรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยติดเชื้อ
5.จุดจอดรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยปลอดเชื้อ
6.อาคารผู้ป่วยใน 70 เตียง

7.อาคารผู้ป่วยใน 100 เตียง
8.จุดจอดรถรับ-ส่ง ผู้ป่วยใน
9.ลานพักผ่อน
10.อาคารระบบน้ำดับเพลิง
11.อาคารสนับสนุนบริการ
12.อาคารหอพักแพทย์และพยาบาล

13.อาคารคัดแยกขยะและผลิตไฟฟ้า
14.ลานอเนกประสงค์
15.สวนสมุนไพรและผักสวนครัว
16.ทางเดินนวดเท้า
17.สนามหญ้าในสวนไม้หอม
18.ลานออกกำลังกาย

19.ลานพักผ่อนในสวน
20.สนามเด็กเล่น
21.ลานออกกำลังกาย
22.ลานแปตอง
23.หอพระ
24.ลานจอดรถ

25.ลานขายของ/อเนกประสงค์
26.สนามหญ้าอเนกประสงค์
27.คูน้ำ
28.บ่อน้ำ

ผังแม่บทโรงพยาบาลบางบัวทอง2 จังหวัดนนทบุรี

ไทม์ไลน์

2563

ก.ย.

  • Site analysis และทำความรู้จักชุมชนและบุคลากร
  • พ.ย.

  • ๔ ชุมชน
  • ๓ กลุ่มกิจกรรม
  • กลุ่มบุคลากร ๑๒ แผนก ๔๐ คน
  • 2564

    ม.ค.

  • สรุปโจทย์และความต้องการเพื่อใช้ในการออกกแบบร่วมกับผู้บริหาร รพ.
  • ก.พ.

  • นำเสนอแบบปรัปรุงอาคารส่วนรักษาพยาบาลร่วมกับผู้บริหาร รพ.
  • มี.ค.

  • เวทีนำเสนอแบบกับบุคลากรโรงพยาบาล ๖๐ คน
  • เม.ย.

  • นำเสนอแบบกับชุมชน(ออนไลน์)
  • พ.ค.

  • คัดเลือกพื้นที่นำร่อง
  • ก.ค.

  • จัดทำแบบและงบประมาณการก่อสร้าง
  • เสียงจากชุมชน

    “การปรับปรุงภูมิทัศน์ช่วยให้ ทั้งแพทย์ พยาบาล มีความสุขในการทำงานมากขึ้น ผู้มาใช้บริการไม่ต้องเจ็บป่วยก็มาใช้บริการได้ การที่โรงพยาบาลและชุมชนมีความใกล้ชิด มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ทำให้เมื่อมีโควิด-19 ระบาด เราจะเข้าใจกันง่าย เพียงลงพื้นที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชี้แจงความจำเป็นคืออะไร เกิดอะไรขึ้น ซึ่งเขารับฟัง ลดปัญหาไม่เข้าใจ หรือการตีตรา”

    นพ.กวิตม์ ซื่อมั่น
    ( ผอ.โรงพยาบาลบางบัวทอง 2 )

    “การปรับภูมิทัศน์ คือ การสานฝันของบุคลากรในโรงพยาบาลและชาวบ้านในชุมชนให้มีโรงพยาบาลที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งในยามป่วยและยามปกติ เป็นที่พักใจ พักกาย ยามอ่อนล้าทั้งจากการทำงานและการใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่ต้องประสบภัยโรคโควิด ก็ยังมีความหวังที่ชัดเจนว่า เราจะผ่านช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน เราจะสู้ไปด้วยกัน เพื่อให้เราได้โรงพยาบาลสุขภาวะที่อยู่ใจกลางชุมชน ซึ่งเป็นที่รวมใจของทุกๆคน”

    สมพร หุ่นเลิศ
    ( หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล )

    “ด้วยความรู้สึกจากใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาลบางบัวทอง2 ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนพิมลราช ได้ร่วมออกแบบ ถ้าได้แบบนั้นจริง มันสวยงามมาก และจะทำให้คน พิมลราชได้ในสิ่งที่ดี”

    ณุจรีย์ นวลละม้าย
    ( ประธาน อสม.ตำบลพิมลราช )

    “ประทับใจโครงการฯที่ทำงานต่อเนื่อง มีการติดตามผลมาตลอด มันคือ
    ประโยชน์ของพวกเราชาวชุมชน ที่จะได้ร่วมทำสิ่งดีๆ ที่จัดทำพื้นที่ให้ดูสวยงามให้แก่โรงพยาบาลของพวกเรา เพื่อความสะดวกของประชาชนพวกเรายินดีมากๆ ดีใจมากๆสำหรับสิ่งดีๆที่มอบให้แก่พวก”

    คุณสุมนกา มุดแลง
    ( รองประธานอสม.หมู่5 )

    “รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วม ในการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ โรงพยาบาลบางบัวทอง2 ให้มีความเหมาะสมและประโยชน์แก่ชุมชนมากขึ้นค่ะ”

    คุณชนกนัฐ แก้วดี
    ( ประธานอสม.หมู่8 )

    “รู้สึกดีใจมากค่ะ ที่จัดทำเวทีประชาคมของโครงการนี้ แผนปรับปรุงภูมิทัศน์โครงสร้าง รพ.บางบัวทอง2 มีความสำคัญมาก และเป็นความหวังของคนในพื้นที่และคนที่ใช้บริการ”

    สุรีย์ พลอยสุข
    ( ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโสนลอย
    หมู่.6 ตำบลพิมลราช )

    แกลเลอรี่

    ดูทั้งหมด