รักเฒ่ากัน

การสร้างเครือข่าย
(ประสานความร่วมมือ)

เป็นการพัฒนารูปแบบการทำงานข้ามศาสตร์ระหว่างชุมชน องค์กรด้านสาธารณสุขและนักออกแบบ เพื่อนำไปสู่การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างครบทุกมิติอย่างยั่งยืน ดำเนินการในเรื่องของการให้บริการสุขภาพ(homecare)ในพื้นที่ชุมชน การให้ความรู้ในเรื่องการกายภาพบำบัดกับนักออกแบบและผู้ดูแล ผู้สูงอายุ(caregiver) ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีการทำหนังสือบันทึกข้อตกลงระหว่างองค์กร ( MOU ) ร่วมกับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสนับสนุนการทำงาน ที่เป็นประโยชน์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกัน

กิจกรรมการออกแบบเพื่อฟื้นฟูอาการ
workshop design for rehabilitation

เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีโจทย์ความต้องการจริงจากผู้สูงอายุที่ป่วยในชุมชนบ้านเอื้ออาทร 4 แห่ง จำนวน 10 เคส โดยเปิดรับนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปนิกวิชาชีพ ให้เกิดการทำงานร่วมกันกับนักกายภาพบำบัด เพื่อนำไปสู่การออกแบบปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุหรือ การออกแบบเครื่องมือ สำหรับการฟื้นฟูอาการต่างๆ เป็นการทำงานข้ามศาสตร์วิชาชีพเพื่อให้เกิด การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละราย

คุณประโยชน์ที่สำคัญของเวิร์คช็อป

เป็นการทำงานอย่างละเอียดและลงลึกระหว่างนักกายภาพบำบัด และนักออกแบบที่นำเอาศาสตร์ การฟื้นฟูร่างกายและการออกแบบ มารวมกัน ทำให้เกิดแนวทางในการปรับปรุงบ้าน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุ และนำไปใช้ได้จริง

ผลสะท้อนของกิจกรรม

นักออกแบบได้เรียนรู้มุมมอง ในการทำงานกับนักกายภาพบำบัด ที่ทำให้เห็นมิติของโรคและแนวทาง การฟื้นฟูที่เฉพาะเจาะจงกับโรค และอาการของผู้สูงอายุแต่ละท่าน อย่างชัดเจน ส่งผลให้การออกแบบมีรายละเอียด ในการช่วยฟื้นฟูอาการของผู้สูงอายุได้มากขึ้น ได้แนวคิดการปรับปรุงบ้านที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับผู้สูงอายุราย

การดำเนินงานต่อเนื่องจากกิจกรรม

เกิดการรวบรวมกรณีศึกษาทั้ง 10 เคส เป็นเล่มคู่มือและเผยแพร่ต่อไปยังผู้ที่สนใจ

นำเอาแนวทางการปรับปรุงบ้าน และการออกแบบกายอุปกรณ์ไปทำงาน ต่อเนื่องกับผู้สูงอายุและชุมชน จนเกิดการปรับปรุงขึ้นจริง

การบริการสุขภาพ
homecare

งานบริการสุขภาพ (homecare) ให้ความช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีปัญหาสภาพร่างกาย ในพื้นที่ขยายผลรูปแบบชุมชนเมือง เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำงานจริงระหว่างนักกายภาพบำบัด วิชาชีพและสถาปนิกอาศรมศิลป์ ทำงานร่วมกับทีมงานจิตอาสาในชุมชน โดยชุมชนทำการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุและคัดเลือกผู้ที่มีปัญหาและต้องการ ความช่วยเหลือ ลงเยี่ยมและประเมินอาการรวมถึงให้แนวทางการฟื้นฟู โดยในบางรายมีการปรับสภาพแวดล้อมร่วมด้วย ดูแลต่อเนื่อง ครอบคลุม จ.นครปฐมและ จ.นนทบุรี

คุณประโยชน์ที่สำคัญของเวิร์คช็อป

เป็นการทำงานเชิงรุก นักกายภาพบำบัดและนักออกแบบ ลงพื้นที่จริง ทำให้ได้เห็นปัญหา ศักยภาพที่ผู้สูงอายุมีและช่วยเหลือดูแล ได้อย่างตรงจุด

ทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน และครอบครัว ทำให้เกิดการดูแลอย่างทั่วถึง เน้นการให้ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทจริง

ผลสะท้อนของกิจกรรม

ผู้สูงอายุและผู้พิการหลายรายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการฟื้นฟูร่างกายได้ดีขึ้น ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง

เป็นการช่วยเหลือดูแลที่ครอบคลุม มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมโดยชุมชน

นักกายภาพบำบัดและนักออกแบบได้ เรียนรู้การทำงานจากเคสจริง ได้เข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ

การดำเนินงานต่อเนื่องจากกิจกรรม

เตรียมพัฒนารูปแบบการลงเยี่ยมเป็นแบบออนไลน์ เพื่อจะได้ดำเนินการดูแล อย่างต่อเนื่องและสร้างระบบให้ชุมชน ได้เข้าถึงการรักษาในรูปแบบใหม่

การฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
Training for Elderly Caregiver

จากการทำงานลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน และพบผู้สูงอายุที่มีปัญหาสภาพร่างกาย จึงได้ทำบันทึกความเข้าใจ(MOU)ร่วมกับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันดูแลและให้ความรู้กับชุมชน โดยพบว่าปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีคือผู้ดูแล(caregiver) ซึ่งหลายกรณีพบว่าผู้ดูแลยังมีปัญหาเรื่องของสภาพจิตใจและสภาพร่างกาย ทั้งยังได้รับการให้ความสำคัญน้อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเอง ดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้ผู้ที่สนใจในชุมชนได้

คุณประโยชน์ที่สำคัญของเวิร์คช็อป

รูปแบบการอบรมเชิงปฎิบัติการ ใช้การนำเสนอหลักการควบคู่กับการให้ ทดลองปฎิบัติเพื่อให้สามารถนำไปใช้งาน ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยทีมงาน ได้คัดเลือกชุดความรู้ที่ต้องใช้งาน เป็นประจำมาถ่ายทอดมีการออกแบบ วิธีการเรียนรู้โดยลงไปใช้พื้นที่ในชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้วิธี การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในสภาพแวดล้อมจริง เช่น การใช้รถเข็น กับทางลาดที่ชัน การข้ามสิ่งกีดขวางจริงในชุมชน รวมทั้ง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในห้องน้ำขนาดเล็ก( ทำห้องน้ำจำลองจากขนาดจริง ) รวมทั้งได้สรุปความรู้ในการปรับสภาพ แวดล้อม เปิดมุมมองของผู้ดูแล ให้กว้างขวางขึ้นเพื่อนำไปสู่การดูแลที่ช่วย พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ด้วยความเข้าใจ

ผลสะท้อนของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความเข้าใจบทบาทของผู้ดูแลที่ชัดเจนขึ้น เชื่อมโยงความเข้าใจ ผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง ตามแนวทางของ ICF model( International Classification ofFunctioning, Disability and Health )  ซึ่งเป็นแบบแผนในการมองคนไข้ ในหลากหลายมิติ รวมทั้งมีทักษะในการช่วยเหลือผู้ป่วย ติดบ้านติดเตียงในประเด็นที่สำคัญ อย่างครบถ้วน

การดำเนินงานต่อเนื่องจากกิจกรรม

เกิดการออกแบบเครื่องมือสื่อสาร แผ่นพับ ที่สรุปความรู้ให้ชัดเจนทำตามได้ง่าย ให้กับทีมจิตอาสา เพื่อนำไปใช้ส่งต่อความเข้าใจสู่ผู้ดูแล เนื่องจากผู้ดูแล ที่เป็นญาติใกล้ชิด มีเพียงจำนวนน้อยที่ปลีกตัวจากการดูแล คนป่วยมาร่วมกิจกรรมได้ ทีมจิตอาสาซึ่งส่วนมากเป็น อสม ในชุมชนจึงเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่อาสา มาร่วมอบรมและนำไปสื่อสารต่อ