รักเฒ่ากัน

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยองค์การสหประชาชาติคาดการว่า จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2573
โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปทำให้ประเทศไทย ต้องรับมือกับการดูแลผู้สูงอายุ โดยคนวัยทำงาน มีภาระต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้อายุในบ้านขาดคนดูแล
โครงการรักเฒ่ากันมีเป้าหมายให้ “ชุมชนเป็นกำลังสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีส่วนร่วม และเชื่อมประสานหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการดูแลอย่างเป็นองค์รวม” เนื่องจากชุมชนเป็นหน่วยทางสังคม ที่มีความใกล้ชิดและผูกพันกัน เป็นหน่วยย่อยที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ แต่การที่ชุมชนจะรับบทบาทนี้ได้นั้น ต้องมีการสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ในการดูแล ผู้สูงอายุให้กับชุมชน โดยมีความคาดหวังว่า จะนำไปสู่การดูแลอย่างบูรณาการ มีประสิทธิภาพ ประหยัด แบ่งเบาภาระของภาครัฐ สามารถตอบโจทย์ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ได้อย่างยั่งยืน

ขั้นตอนการทำงาน

การค้นหาประเด็น โดยอาศัยข้อมูล ชุมชน

1

เก็บข้อมูล
ผู้สูงอายุทั้งชุมชน

2

ได้ข้อมูลครบทุกคน
ครอบคลุมทุกด้าน

3

นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
และนำเสนอหารือกับชุมชน

4

ชุมชนกำหนดประเด็นการทำงานและคัดเลือกรายชื่อกลุ่มเปราะบาง

การพัฒนาประเด็น ไปสู่แผนปฏิบัติงาน

ระดับบุคคล

5

เก็บข้อมูลเชิงลึก
ของกลุ่มเปราะบาง

6

นำเสนอชุมชนเพื่อวางแผน
การดูแลรายบุคคล

7

ช่วยเหลือดูแลตามแผนทั้งในด้านสุขภาพและการปรับปรุงที่อยู่อาศัย

ระดับชุมชน

8

ริเริ่มกิจกรรมนำร่อง

9

ส่งเสริมให้เกิด
การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

การค้นหาประเด็น โดยอาศัยข้อมูล ชุมชน

1

เก็บข้อมูล
ผู้สูงอายุทั้งชุมชน

2

ได้ข้อมูลครบทุกคน
ครอบคลุมทุกด้าน

3

นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
และนำเสนอหารือกับชุมชน

4

ชุมชนกำหนดประเด็นการทำงานและคัดเลือกรายชื่อกลุ่มเปราะบาง

การพัฒนาประเด็น ไปสู่แผนปฏิบัติงาน

ระดับบุคคล

5

เก็บข้อมูลเชิงลึก
ของกลุ่มเปราะบาง

6

นำเสนอชุมชนเพื่อวางแผน
การดูแลรายบุคคล

7

ช่วยเหลือดูแลตามแผนทั้งในด้านสุขภาพและการปรับปรุงที่อยู่อาศัย

ระดับชุมชน

8

ริเริ่มกิจกรรมนำร่อง

9

ส่งเสริมให้เกิด
การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

เครื่องมือสำคัญ

รักเฒ่ากัน

การสำรวจข้อมูล

คือการเริ่มต้นดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาและวางแผนการดูแลได้อย่างเป็นระบบ

รายละเอียด

การออกแบบ

ใช้การออกแบบที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาผู้สูงอายุโดยดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียด

การสร้างเครือข่าย

พัฒนาองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุจากสถานการณ์จริงในชุมชน โดยการทำงานบูรณาการข้ามศาสตร์และสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ

รายละเอียด

การส่งเสริมกิจกรรม

ส่งเสริมกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและเน้นให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกาย อารมณ์ สังคมจิตวิญญาณและสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด

การสร้างเครือข่าย

ชุมชน

แกนนำชุมชน

จิตอาสาชุมชน,อสม.

วัด, มัสยิด

โรงเรียน

สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลอำเภอ

ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง

คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

อาจารย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ มศว.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เทศบาล

อบต.

นักออกแบบ

สถาบันอาศรมศิลป์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

ไทม์ไลน์

2556

จุดเริ่มต้น

  • เริ่มทำงานร่วมกับศูนย์ผู้สูงอายุ อ.เขาทอง
  • 2557

    เริ่มระบบสำรวจข้อมูล

  • ชุมชนเขาทอง จ.นครสวรรค์
  • 2558

    ขยายผลต้นแบบ 3 พื้นที่

  • บ้านกลึง จ.นครราชสีมา
  • บ้านเอื้ออาทรหลังองค์พระ จ.นครปฐม
  • ชุมชนวัดท่าพูด จ. นครปฐม
  • 2559

    เริ่มดำเนินการ

  • ระบบสำรวจข้อมูล ชุมชนเขาทอง จ.นครสวรรค์
  • ออกแบบสวนสุขภาพชุมชนบ้านกลึง จ.นครราชสีมา
  • กิจกรรมมีดีที่ท่าพูดชุมชนวัดท่าพูด จ.นครปฐม
  • 2560

    เริ่มเห็นความสำเร็จ

  • เกิดระบบสำรวจข้อมูลชุมชนเขาทอง จ.นครสวรรค์
  • สร้างสวนสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านกลึง จ.นครราชสีมา
  • เวทีเสวนาวิชาการผู้สูงอายุ ร่วมกับเครือข่ายสาธารณ์สุข
  • 2561

    เกิดพื้นที่สุขภาวะผู้สูงอายุในหลากหลายรูปแบบ

  • สวนสุขภาพ บ้านเอื้ออาทรหลังองค์พระ
  • ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด รองรับกิจกรรมกลุ่มมีดีที่ท่าพูด
  • เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน
  • 2562

    เกิดโมเดลการดูแลผู้สูงอายุ

  • เวทีเสวนานำเสนอผลการทำงานชุมชนต้นแบบ 4 โมเดล
  • สื่อวีดีทัศน์พื้นที่ต้นแบบ 4 ชุมชน
  • 2563

    เกิดการขยายผลการทำงาน

  • ขยายผลการทำงาน 12 ชุมชน
  • เกิดเครือข่ายการทำงานผู้สูงอายุ
  • 2564

    สรุปความรู้

  • คู่มือการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุโดยชุมชน
  • ถอดบทเรียนการทำงาน 12 พื้นที่ ผลิตสื่อ นำเสนอโครงการ
  • ผลลัพธ์

    Community Explore System

    เกิดระบบการเก็บข้อมูลคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและ เครื่องมือในการเก็บสำรวจที่มีประสิทธิภาพ

    Community Skills & Attitude for Aged-Care

    ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ สถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนและสามารถวางแผนการดูแลผู้สูงอายุและดำเนินการดูแลช่วยเหลือ ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น

    Community Creative Method

    เกิดแนวทางการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง อย่างสร้างสรรค์โดยการประสานการทำงานด้วย แนวคิดบูรณาการข้ามศาสตร์

    Community Care System

    เกิดระบบกลไกการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบ ชุมชนเมืองและรูปแบบชุมชนชนบท ครอบคลุมทุกมิติ

    พื้นที่ต้นแบบ

    ศูนย์ผู้สูงอายุเขาทอง
    จ.นครสวรรค์

    สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ
    ผ่านการมีส่วนร่วม
    จากภาคส่วนต่างๆ

    บ้านเอื้ออาทรสาย 5
    (หลังองค์พระ) จ.นครปฐม

    ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลาง
    ให้คนมาใช้งานร่วมกัน
    และช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
    ที่เปลี่ยวเหงาอยู่บ้านคนเดียว

    ชุมชนวัดท่าพูด
    จ.นครปฐม

    ผู้สูงอายุเป็นครูภูมิปัญญา ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราว สู่คนรุ่นหลัง รวมทั้งเป็นผู้นำ ในการจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้สูงอายุ

    ชุมชนบ้านกลึง
    จ.นครราชสีมา

    ทำกิจกรรมและพัฒนาพื้นที่
    เพื่อให้ผู้สูงอายุและเด็ก
    ได้มีปฎิสัมพันธ์กัน
    สร้างชีวิตชีวาให้กับหมู่บ้าน

    พื้นที่ขยายผล

    รูปแบบชุมชนเมือง

    • ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑล สาย ๕ (ปตท.) จ.นครปฐม
    • ชุมชนบ้านเอื้ออาทร นครชัยศรี ( ท่าตำหนัก ) จ.นครปฐม
    • ชุมชนบ้านเอื้ออาทร พุทธมณฑลสาย ๔ จ.นครปฐม
    • หมู่บ้านธารทอง ๑ หมู่ ๖ จ.นนทบุรี
    • หมู่บ้านบัวทอง หมู่ ๙ จ.นนทบุรี
    • หมู่บ้านลิขิต หมู่ ๖ จ.นนทบุรี

    รูปแบบชุมชนชนบท

    • ชุมชนเจริญทรัพย์ จ.นครนายก
    • ชุมชนวัดทองย้อย จ.นครนายก
    • ชุมชนบ้านหัวหมอน จ.นครนายก
    • ชุมชนหมู่ ๖ เทศบาลหนองเสือ จ.ปทุมธานี
    • บ้านหนองห่าง หมู่ ๑ จ.นครราชสีมา
    • บ้านโนนพัฒนา หมู่ ๑๓  จ.นครราชสีมา

    เสียงจากชุมชน

    “ชุมชนรวมพลังขับเคลื่อนงานแต่ยังไม่มีกรอบที่ชัดเจนนักโครงการเข้ามาเสริมในกระบวนการมีส่วนร่วม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนมากกว่าการทำงานอย่างโดดเดี่ยว”

    พระณัฐภพ ขน.ติโก
    (พระวัดไผ่เหลือง)

    “การเปิดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุแสดงความคิดเห็นและให้ความสำคัญกับทุกคน ทำให้ผู้สูงอายุมีสภาวะผู้นำมากขึ้น มีความมั่นใจ สามารถถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลังได้”

    ครูสมควร คงประชา
    (กลุ่มกิจกรรมมีดีที่ท่าพูด)

    “ทางนิติฯเราอยากดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้วพอได้มาเพิ่มเติมวิธีการทำงานเชิงลึกรู้ข้อมูลโรค รู้แนวทางการประสานหน่วยงานต่างๆจึงมีความรู้ทางปฏิบัติที่ช่วยเหลือเค้าได้จริงๆ”

    น.ส. ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร
    (เจ้าหน้าที่นิติบุคคล บ้านเอื้ออาทรท่าตำหนัก)

    “เกิดประโยชน์เพราะทำให้ทีมทำงานได้รู้จักชุมชนได้เข้าใจความต้องการของเค้าจนสามารถเป็นหลักให้ผู้สูงอายุในชุมชนพึ่งพาได้ไม่มากก็น้อย”

    นายฐาปกรณ์ ภูกองชนะ
    (ผู้จัดการนิติบุคคล บ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑล สาย 5 หลังองค์พระ)

    “การทำงานร่วมกับสถาปนิกทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันมองเรื่องผู้สูงอายุกว้างขึ้นพยาบาลเห็นเรื่องกายภาพสถาปนิกก็เห็นเรื่องสุขภาพเป็นความรู้ใหม่และยังได้ถ่ายทอดให้ชุมชนอื่นทำให้ชุมชนดูแลกันเองได้เกิดเป็นความยั่งยืน”

    นางศศิธร มารัตน์
    (งานผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพชุมชน ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จ.นครสวรรค์)

    “ได้ไปใกล้ชิดได้ช่วยเหลือเห็นผลทันทีคนทำงานก็ภูมิใจยิ่งมีกำลังใจทำงาน”

    นางสุมาลี ด่านยางหวาย
    (ผอ.รพสต. บ้านไพ)

    “การที่เรามีกิจกรรมต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใหญ่ได้เจอเด็กๆ ทำให้ความร่วมมือของชุมชนเพิ่มมากขึ้นอย่างมากจนสามารถจัดการขยะที่ป่าชุมชนที่ค้างคาใจมานานได้”

    นายภูษิต งามจันอัด
    (ประธานชมรมผู้สูงอายุ)

    “ชอบที่ได้ร่วมคิด ร่วมจัดการพัฒนากิจกรรมร่วมกันเห็นความสนุกของเด็กที่ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่สามารถมาร่วมกันได้ทุกวัยมันอบอุ่น”

    นายอนันต์ ดาวเรรัมย์
    (ครูโรงเรียนไตรคามสามัคคี)

    “การที่เราใช้การมีส่วนร่วมทำงานช่วยเหลือผู้สูงอายุนำความคิดชาวบ้านไปทำจริงเห็นผลดีจริงทำให้เรามีความมั่นใจกล้าพัฒนาชุมชนของเรา”

    นายชาติ แพจังหรีด
    (ผู้ใหญ่บ้าน หมู่5 บ้านกลึง)

    “ภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือได้ใกล้ชิดทำให้อสม.เข้มแข็งขึ้นทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าที่มีคนไปเยี่ยมไปพูดคุย”

    นางกุหลาบ โจสันเที๊ยะ
    (อสม. หมู่5 บ้านกลึง)