ลานกีฬา

เป็นพื้นที่สุขภาวะในชีวิตของชุมชน ที่ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ออกกำลังกายเท่านั้น แต่รวมถึงสุขภาวะทางใจและเป็นพื้นที่ส่งเสริมการมีสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย โดยมีเป้าหมายให้“ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของพื้นที่” ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่โครงการ การออกแบบ ไปจนถึงการดำเนินกิจกรรม และบริหารจัดการร่วมกัน
โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็น “ต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม”
มีพื้นที่เป้าหมายในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง๒เพื่อให้เป็นฐานในการสร้างความร่วมมือ และขยายผลในพื้นที่อื่นๆต่อไป

ไทม์ไลน์

2560

จุดเริ่มต้น

ทำข้อตกลงร่วมกับเทศบาลนำร่อง 2 แห่ง

  • เทศบาลตำบลบ้านแหลม
  • เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ
  • 2561

    เริ่มเห็นความสำเร็จ

  • ปรับปรุงพื้นที่ออกกำลังกายที่ตำบลบ้านแหลมและสนามเด็กเล่นที่หาดเจ้าสำราญ
  • เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเทศบาลและชุมชน
  • 2562

    ขยายผลพื้นที่ต้นแบบ 6 พื้นที่

  • ท่าฉลอม
  • มหาชัย
  • บางสะแก
  • อนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จัน
  • หนองตาแต้ม
  • หัวหิน
  • 2563

    เกิดพื้นที่สุขภาวะในบริบทที่หลากหลาย

  • เกิดการปรับปรุงพื้นที่ลานสุขภาวะท่าฉลอม บางสะแก หนองตาแต้ม
  • จัดกิจกรรมพาผู้นำไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการพื้นที่ที่ลานกีฬาพัฒน์1
  • 2564

    สรุปความรู้

  • จัดเสวนาออนไลน์ผู้นำ 8 พื้นที่ เพื่อสรุปความรู้
  • จัดทำคู่มือออกแบบลานกีฬาเพื่อแจกจ่ายให้กับ อปท. ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการและผู้ที่สนใจ
  • ขั้นตอนการทำงาน

    สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    1

    ศึกษาความเป็นไปได้
    เลือกที่ตั้งโครงการ

    การริเริ่มโครงการ

    2

    ศึกษาความเป็นไปได้
    เลือกที่ตั้งโครงการ

    3

    สำรวจทำความรู้จักชุมชน

    4

    สำรวจที่ตั้ง บริบท
    อัตลักษณ์ของชุมชน

    กระบวนการออกแบบ

    5

    เวทีระดมความเห็น
    และร่วมออกแบบวางผัง

    6

    เวทีนำเสนอแบบ
    และรับฟังความคิดเห็นต่อแบบ

    การผลักดันโครงการสู่งานก่อสร้าง

    7

    จัดสรรงบประมาณ

    8

    ผลักดันให้เกิดการ
    ปรับปรุงก่อสร้าง

    การดูแลบริหารจัดการพื้นที่

    9

    จัดกิจกรรมทดลองใช้พื้นที่

    10

    กระตุ้นให้เกิด
    การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    11

    ผลักดันให้เกิดกลไก
    การบริหารจัดการดูแลพื้นที่

    การสื่อสารและสร้างเครือข่าย

    12

    สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ
    และสร้างแรงบันดาลใจ

    13

    สร้างเครือข่าย
    เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

    สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    1

    ศึกษาความเป็นไปได้
    เลือกที่ตั้งโครงการ

    การริเริ่มโครงการ

    2

    ศึกษาความเป็นไปได้
    เลือกที่ตั้งโครงการ

    3

    สำรวจทำความรู้จักชุมชน

    4

    สำรวจที่ตั้ง บริบท
    อัตลักษณ์ของชุมชน

    กระบวนการออกแบบ

    5

    เวทีระดมความเห็น
    และร่วมออกแบบวางผัง

    6

    เวทีนำเสนอแบบ
    และรับฟังความคิดเห็นต่อแบบ

    การผลักดันโครงการสู่งานก่อสร้าง

    7

    จัดสรรงบประมาณ

    8

    ผลักดันให้เกิดการ
    ปรับปรุงก่อสร้าง

    การดูแลบริหารจัดการพื้นที่

    9

    จัดกิจกรรมทดลองใช้พื้นที่

    10

    กระตุ้นให้เกิด
    การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    11

    ผลักดันให้เกิดกลไก
    การบริหารจัดการดูแลพื้นที่

    การสื่อสารและสร้างเครือข่าย

    12

    สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ
    และสร้างแรงบันดาลใจ

    13

    สร้างเครือข่าย
    เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน

    ผลลัพธ์

    Active Environment

    เกิดพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิตชีวา ตอบโจทย์ความต้องการของคนพื้นที่ และสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน

    Active People

    เกิดความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นกับชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและเท่าเทียมในการร่วมออกแบบ ร่วมจัดกิจกรรมและร่วมดูแลบริหารจัดการพื้นที่

    Active Societies

    เกิดการสื่อรณรงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเกิดแรงบันดาลใจและสนใจเข้าร่วม การพัฒนา พื้นที่สุขภาวะชุมชน

    Active Systems

    เกิดระบบการผลักดันและบริหารจัดการพื้นที่มีโครงสร้างในการบริหารจัดการและงบประมาณ ในการดูแลร่วมกันระหว่างชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ

    ความเป็นมา

     ประเทศไทยมีพื้นที่สาธารณะดี ๆ ที่เอื้อให้เกิดกิจกรรมทางกายน้อยกว่ามาตรฐานโลก และพื้นที่สาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังขาดการบริหารจัดการ ทำให้ถูกทิ้งร้าง ทรุดโทรม เนื่องจากหน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดงบประมาณในการดูแลรักษาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และขาดความรู้เรื่องการสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม และการออกแบบพื้นที่ซึ่งแสดงถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน ที่จะทำให้คนในชุมชนร่วมรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะ

     จากสถานการณ์นี้จึงมีแนวคิดในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับชุมชนเพื่อสร้าง “ ต้นแบบกระบวนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ” ผ่านกระบวนการออกแบบและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการดูแลบริหารจัดการร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนอย่างเท่าเทียม

    เสียงจากชุมชน

    “กระบวนการมันสร้าง หุ้นส่วนที่เป็นสาระสำคัญ คือชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมออกแบบ”

    ดร.ศิวัช บุญเกิด
    (รองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน)

    “ชุมชนจะได้ประโยชน์หรือจะมีผลกระทบก็ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วม”

    ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม
    (ประธานกรรมการบริษัทสมุทรสาครพัฒนาเมือง วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

    “กระบวนการมันไม่ได้เกิดจากที่เราเห็นดีอย่างเดียวต้องมีองค์กรภายในของเราเององค์กรภายนอกที่จะเห็นประโยชน์ของโครงการที่จะเกิดขึ้น”

    ปลัดชิงชัย บุญประคอง
    (ปลัดเทศบาลนครสมุทรสาคร)

    “ลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านและนำมาพัฒนาต่อจนกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์และเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการอย่างแท้จริง “

    ปลัดปิ่นทอง ศรจังหวัด
    (ปลัดเทศบาลตำบลบ้านแหลม)

    “ประชาชนมีความภาคภูมิใจที่ความคิดเห็นของเขาถูกทำขึ้นจริง”

    รองเชิด ยอดแฉล้ม
    (รองนายกอบต.หนองตาแต้ม)

    “เป็นหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องทำพื้นที่สุขภาวะให้ชุมชน”

    นายกบุญยอด มาคล้าย
    (นายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ)

    “เราจะต้องสื่อให้หน่วยงานและภาคประชาชนเห็นความต่างของกระบวนการมีส่วนร่วม”

    กำนันมนัส บุญพยุง
    (กำนันตำบลบางสะแก)

    “พื้นที่มันได้แรงกายแรงใจของชุมชนเขาร่วมกันดูแลหวงแหนของเขาอัตโนมัติอยู่แล้ว”

    คุณกสิธาดา คล้อยดี
    (ประธานกลุ่ม OTOP นวัตวิถีบ้านหาดเจ้าสำราญ)

    “ถ้ามีโครงการที่มีงานดีไซน์แก้ปัญหาการใช้สอยพื้นที่ที่ไม่เกิดประโยชน์ให้เกิดประโยชน์น่าจะดีต่อจังหวัดและที่สำคัญเลยคือยั่งยืนด้วย”

    คุณธนาภา แสงวณิช
    (ประธาน YEC สมุทรสงคราม)

    “กระบวนการมีส่วนร่วมมีประโยชน์อย่างมากกับการออกแบบพื้นที่ชุมชนเกิดประโยชน์กับชาวเมืองหัวหินและนักท่องเที่ยว”

    คุณครูศักดา หมื่นสวัสดิ์
    (จิตอาสา)