เพชรบุรี
เมืองวัฒนธรรมสุขภาวะ

เมืองเพชรบุรีเป็นเมืองเก่าที่มีทุนทางวัฒนธรรมสูง แต่การพัฒนา เมืองที่เกิดขึ้น ไม่ได้ต่อยอดต้นทุนที่มีให้เกิดประโยชน์และสอดคล้อง ต่อเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน การพัฒนาเมืองใหม่ ทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจย้ายไปอยู่รอบนอก เมืองเก่าเพชรบุรีกลายเป็นเมืองผ่านที่เงียบเหงา ขาดชีวิตชีวา

ด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ พวกเราและคนเพชรบุรี จะสามารถฟื้นฟูเมืองพร้อมไปกับมรดกทางวัฒนธรรมนี้ได้อย่างไร

    กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเมืองในบริบทเมืองวัฒนธรรมในครั้งนี้จะเป็นคำตอบในการปลุกเมืองเพชรบุรีให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง ทำให้เกิดตัวอย่างการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน เปลี่ยนชุมชน ที่เงียบเหงา ให้กลับมามีชีวิตชีวา พร้อมกับสร้างสุขภาวะที่ดี ให้กับคนในเมือง

เป้าหมาย

“ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่า”

ออกแบบ

พื้นที่สุขภาวะ

ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโดยต่อยอดจากทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสืบสานอัตลักษณ์และคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมให้ตอบสนองต่อวิถีชีวิตในปัจจุบัน​

สื่อสาร

คุณค่าเพชรบุรี

สื่อสารมรดกทางวัฒนธรรมให้กับสังคมชุมชนและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อสืบสาน อนุรักษ์และพัฒนาเมืองจากทุนทางวัฒนธรรม ​

ส่งเสริม

กิจกรรมทางกาย

ด้วยการเดินและจักรยานโดยอาศัยบริบทเมืองที่เอื้อต่อการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะนำไปสู่เป้าหมายเมืองสุขภาวะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สร้างโอกาส

เศรษฐกิจชุมชน

สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ​

กระบวนการทำงาน

ตั้งแต่ปี 2555 ทีมงานมีเป้าหมายที่จะสร้างพื้นที่สุขภาวะในเมืองเพชรบุรี​

เริ่มต้นจากคำแนะนำของคนเพชรบุรี ทำความรู้จักกับกลุ่มต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าการที่จะเปลี่ยนเมืองได้นั้น จะต้องสร้างต้นทุนที่ดีโดยเริ่มจาก เยาวชนในพื้นที่ การทำงานของเราจึงเริ่มจากกิจกรรมเยาวชน “เด็กเพชรอ่านเมือง” ซึ่งเป็นที่กล่าวขานในกลุ่มเยาวชนและคนเพชรบุรี มีคนเข้ามาร่วมงานกับเรา ทั้งเยาวชน ชุมชน และภาคีต่าง ๆ เกิด “แผนที่ของอร่อยเมืองเพชรบุรี” สื่อเล่าเรื่องเมืองจากมุมมองของเยาวชน รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อนิทรรศการ เล่าเรื่องคุณค่าของเมืองเพชรบุรี ออกมาอย่างต่อเนื่อง​

ก้าวต่อมา เราขยับไปทำเรื่องการออกแบบเมือง เป็นเรื่องที่ยากขึ้น และใช้งบประมาณสูง 3 ปี หลังจากเริ่มต้น มีงบประมาณก้อนแรกเข้ามา ทำให้คนในชุมชนเห็นรูปธรรมของการพัฒนา และขยายผลไปสู่ 3 ชุมชนข้างเคียง ควบคู่ไปกับการออกแบบ เราริเริ่มกิจกรรมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม ทดลองใช้พื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม การเดินท่องเที่ยว เรียนรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เป็นการเสริมการออกแบบโดยทำให้เห็นภาพ ผ่านการทดลองทำกิจกรรมจริง และนำไปสู่ความเข้าใจภาพรวม และเป้าหมายร่วมกันจนในช่วงปีท้าย ๆ เราได้ขยายพื้นที่การออกแบบ ในพื้นที่รอบนอกของเมือง โดยใช้การเดินและปั่นจักรยานเป็นแนวคิดหลัก ​

ท้ายสุดผลลัพธ์จากการร่วมงานกับชุมชนต่อเนื่องมาหลายปี เมื่อชาวบ้านเริ่มตั้งลำได้ จึงได้ร่วมกันก่อตั้ง “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ชุมชนเมืองเพ็ชร์” ขึ้น เพื่อบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และพื้นที่ชุมชนร่วมกัน​

ทั้งหมดนี้ เป็นภาพรวมการทำงานตลอด 10 ปี ที่ทำให้เราได้เห็นภาพ เมืองสุขภาวะ ที่งอกงามจากทุนทางวัฒนธรรมของเมือง โดยการขับเคลื่อนของคนในพื้นที่

ไทม์ไลน์

2555

จุดเริ่มต้น

  • เริ่มทำงานร่วมกับชุมชนย่านเมืองเก่าเพชรบุรี
  • เวทีประชาคม
  • เด็กเพชรอ่านเมือง 1
  • 2556

    ออกแบบ

  • เวทีตลาดริมน้ำ 1
  • เวทีถนนคลองกระแชง 1
  • ชมตลาดย่านเก่าถนนเล่าวัฒนธรรม
  • เวทีถนนคลองกระแชง 2
  • เด็กเพชรอ่านเมือง 2
  • 2557

    ขยายผลชุมชนข้างเคียง

  • เวทีตลาดริมน้ำ 2
  • เวทีวัดเกาะ 1
  • เด็กเพชรอ่านเมือง 3
  • 2558

    ขยับสู่เรื่องเมือง

  • เด็กเพชรอ่านเมือง 4
  • ปั่นจักรยานท่องเที่ยวเมืองเพชรบุรี
  • เวทีวิสัยทัศน์ 3 ชุมชน
  • 2559

    เกิดรูปธรรม

  • ได้รับงบปรับปรุงถนนคลองกระแชง
  • ปั่นไปเดินไป ในเมืองเพชร
  • School bike 1
  • 2560

    เดิน + ปั่น ท่องเที่ยว 3 ชุมชน

  • School bike 2
  • เวทีเส้นทางเดินเที่ยว 3 ชุมชน
  • เปิดตัวเส้นทางเดินเที่ยว 3 ชุมชน
  • เปิดตัววิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว
  • 2561

    ปรับปรุงเส้นทาง เดิน + ปั่น

  • งบปรับปรุงแหล่งเรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยว 3 ชุมชน
  • Night Bike 01
  • Night Bike 02
  • มาเดินกัน มาปั่นดุ๊
  • 2562

    ผังแม่บทเส้นทาง เดิน + ปั่น

  • Master Plan เดิน+ปั่น
  • เส้นทางเดิน + ปั่น นำร่องถนนคลองกระแชง
  • ทริปท่องเที่ยวชุมชน
  • 2563

    ขยายผลสู่ชุมชน

  • งบปรับปรุงแหล่งเรียนรู้เส้นทางท่องเที่ยว 3 ชุมชน
  • 2564

    สรุปความรู้

  • เวทีวัดแก่นเหล็ก 2
  • Street Art วัดแก่นเหล็ก
  • งบปรับปรงซอยตลาดริมน้ำ
  • กิจกรรมแยกตามประเด็น
    กิจกรรมเยาวชน
    การออกแบบเมือง
    การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
    สร้างเศรษฐกิจชุ่มชน

    กิจกรรมเยาวชน

    กิจกรรมที่ชวนเยาวชนเมืองเพชรบุรีมา ทำความรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ผ่านการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆโดยผู้รู้ ปราชญ์เมืองเพชร และการสำรวจ พูดคุยกับผู้คนในเมืองเพชรบุรี

    ตั้งแต่ปี 2555-2564 เกิดกิจกรรมเยาวชนที่เกิดขึ้น ในโครงการ 8 ครั้ง แบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้

    ชุมชน และเมือง
    01 เด็กเพชรอ่านเมือง 1 รู้จัก เข้าใจ ถิ่นฐานบ้านเกิด
    02 เด็กเพชรอ่านเมือง 2 ทำสื่อหนังสั้นเล่าเมือง
    03 เด็กเพชรอ่านเมือง 3 ชวนคิดเรื่องการพัฒนาเมือง
    04 เด็กเพชรสเกตซ์เมือง 1 เข้าใจเมือง ผ่านการวาดรูป
    05 เด็กเพชรสเกตซ์เมือง 2 วาดภาพวาดฝันเมืองอนาคต

    การเดิน และปั่นจักรยาน
    06 เด็กเพชรอ่านเมือง 4 ปั่นจักรยาน สำรวจเมือง
    07 School Bike 1 ชวนปั่นจักรยาน สื่อสารคนเมือง
    08 School Bike 2 ออกแบบทางเดิน จักรยาน โดยเยาวชน

    รายละเอียด

    สื่อสารคุณค่าเมืองเพชรบุรี

    จากกิจกรรมเยาวชนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด สื่อดีๆ ที่เล่าเรื่องเมืองเพชรบุรีในมุมมอง ที่แตกต่าง แต่น่าสนใจตลอดการทำงาน ที่ผ่านมาเกิดเป็นสื่อหลากหลายประเภทที่ทำหน้าที่สื่อสารเรื่องราว คุณค่า ของเมืองเพชรบุรี ให้กับคนในเมืองเพชรบุรี ตลอดจน นักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ ประกอบด้วย นิทรรศการเยาวชน นิทรรศการ การออกแบบเมือง สื่อหนังสั้นโดยเยาวชน สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆสื่อออนไลน์

    รายละเอียด

    การออกแบบเมือง

        กระบวนการออกแบบปรับปรุงพื้นที่เมืองเพชรบุรี โดยอาศัยการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ รวมไปถึงกลุ่ม ทางสังคมต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่เมือง ที่สร้างประโยชน์และสุขภาวะ ให้เกิดขึ้นกับคนในเมือง อย่างแท้จริง

        กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมจะเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญ ในการกระตุ้นให้คนในเมืองเห็นคุณค่าของ สิ่งที่ตนเองมี สร้างความเข้าใจกายภาพ ปัญหา และความต้องการ ของเมือง เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมลุกขึ้นมา จัดการบ้านเมืองของตนเอง

        พวกเราเริ่มต้นจากการทำงานในชุมชนคลองกระแชง ชุมชนเล็ก ๆใกล้ ๆวัดมหาธาตุฯ ก่อนที่จะขยายผลสู่อีก 3 ชุมชนข้างเคียง

    รายละเอียด

    ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

        เมืองแห่งการเดิน และปั่นจักรยาน คือเมืองที่เป็นมิตรกับชีวิต ของมนุษย์ มองคุณภาพ ชีวิตคนเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญ กับคนเดินเท้าเป็นอันดับแรก และส่งเสริมให้ใช้ จักรยาน ในการเดินทาง ลดการใช้เครื่องยนต์สร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี ให้กับโลก

        เมืองเพชรบุรีเป็นเมืองที่มีขนาดกะทัดรัด มีตรอก ซอย และโครงข่ายถนนต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นเมืองเก่า ที่อุดมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

        ทั้งหมดนี้ถือเป็นต้นทุนที่เหมาะสม ในการพัฒนาให้เป็น เมืองเดินและปั่นจักรยาน โดยเริ่มต้นจากการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้เกิด การเดิน และปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน ในเมืองเพชรบุรี เปลี่ยนเมืองเพชรบุรีให้กลาย เป็นเมืองสุขภาวะ

    รายละเอียด

    สร้างเศรษฐกิจชุมชน

        จากการทำงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลง ในชุมชนที่เห็นได้ชัด คือ เริ่มมีนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยว ชุมชน เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น จึงเกิดเป็นคำถามว่า “ทำอย่างไร การท่องเที่ยวจึงจะสร้างผลตอบแทน กลับคืนสู่ชุมชน โดยนำคุณค่าเดิมในพื้นที่ มาสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้น”

       ตัวแทนจาก 3 ชุมชนในย่านเมืองเก่าเพชรบุรี ทั้ง ชุมชนถนน คลองกระแชง ชุมชนตลาดริมน้ำ และชุมชนวัดเกาะ จึงร่วมมือกัน เพื่อหาแนวทาง จัดการการท่องเที่ยวชุมชนในย่านเพชรบุรี เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ของชุมชน อันเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก และผลตอบแทนจากการท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สร้างรายได้ให้กับคนทำงาน ผู้ที่ดูแลศิลปวัฒนธรรม รวมถึงนำไปใช้ ในการรักษา สืบสานคุณค่าของเมืองให้ยืนยาวต่อไป แนวทางนี้ นำไปสู่โครงการ วิสาหกิจชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเมืองเพ็ชร์

    รายละเอียด

    ผลลัพธ์

    HEALTHY ENVIRONMENT

  • เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมให้พื้นที่ย่านเมืองเก่า ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรม
  • เกิดความ active ทั้งในแง่การออกกำลังกายเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ในวิถีชีวิตประจำวัน
  • HEALTHY PEOPLE

  • คนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีจากการใช้พื้นที่ ทำให้เกิดกลุ่มโครงสร้างในการบริหารจัดการ ที่เห็นความสำคัญของต้นทุนที่มี
  • เกิดวิสาหกิจชุมชน สร้างเป้าหมายและลุกขึ้นมา ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าร่วมกัน
  • เสียงจากชุมชน

    “ถ้ามันต่อยอดให้เมืองเพชรเป็นเมืองจักรยาน จะช่วยได้ทั้งเรื่องสุขภาวะ สุขภาพของชุมชน แก้ปัญหารถติด เรื่องเศรษฐกิจเรื่องการค้าก็จะดีขึ้นกว่าเดิม”

    โยธิน แก่นยิ่ง
    ( ชาวชุมชนคลองกระแชง )

    “ตอนแรกๆเราจะต้องมาบอกว่าหาอะไรคะ ไปไหนอะไรอย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้เขาดูตามป้ายที่ทำไว้ให้ ได้ผลนะ เมื่อก่อนนี้ตลาดริมน้ำเงียบเหงา เดี๋ยวนี้คนเริ่มกลับมา มีนักท่องเที่ยวจากที่อื่นด้วยนะ”

    พรรณ์นิภา ภู่แสง
    ( ชาวชุมชนตลาดริมน้ำ )

    “ถ้าเราเดินเข้าชุมชนถนนคลองกระแชงก็จะเห็นโคมไฟที่ติดตามหัวเสามีลวดลายหนังใหญ่ เห็นซุ้มประตูทางเข้าชุมชน ที่ใช้ลวดลายหนังใหญ่ ทำให้ชุมชน มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นต้นทุนในพื้นที่ที่ชุมชนช่วยกันคิด และร่วมกันพัฒนา”

    ปภังกร จรรยงค์
    ( แกนนำชุมชนถนนคลองกระแชง )

    “กระบวนการออกแบบร่วมกับชุมชนทำให้เกิดแบบที่มาจากความต้องการของชุมชนจริงๆ หน่วยงานท้องถิ่นอย่างเทศบาลพร้อมผลักดันให้เกิดการก่อสร้างจริงได้”

    ขจรศักดิ์ ขลิบศรี
    ( หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโยธาเทศบาลเมืองเพชรบุรี )

    “วิสาหกิจชุมชน เป็นความร่วมมือกันของชุมชนคลองกระแชง ชุมชนตลาดริมน้ำ และชุมชน วัดเกาะ ที่มีแนวคิด ในการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในย่านเพชรบุรีให้เกิดการอนุรักษ์ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันดีงาม กระจายรายได้ให้กับชุมชน ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของร่วมคิดร่วมบริหารจัดการ”

    วรพจน์ เกียรติชัยพิพัฒน์
    ( ชาวชุมชนตลาดริมน้ำ )